หนองบัวลำภู เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย เป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2536 พร้อมกับจังหวัดอำนาจเจริญและจังหวัดสระแก้ว
- คำขวัญประจำจังหวัด : ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อุทยานแห่งชาติภูเก้าภูพานคำ แผ่นดินธรรมหลวงปู่ขาว เด่นสกาวถ้ำเอราวัณ นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน
- ตราประจำจังหวัด : ภาพพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชประทับยืนหน้าศาลของพระองค์ ซึ่งตั้งอยู่หน้าหนองบัวลำภู
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นพะยูง (Dalbergia cochinchinensis)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกบัวหลวง (Nymphaea lotus)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาสร้อยขาวหรือปลาขาวสร้อย (Henicorhynchus siamensis)
เราให้บริการแปลเอกสาร แปลภาษา และรับรองเอกสารในหลากหลายสาขาธุรกิจ เช่น วิศวกรรม กฎหมาย การเงินการธนาคาร แปลเว็บไซต์
แปลใบรับรองการศึกษา แปลวิทยานิพนธ์ แปลใบสูติบัตร แปลใบมรณะ แปลทะเบียนการค้า ธุรกิจการค้า จดหมายโต้ตอบ ฯลฯ
ประวัติศาสตร์
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ – สมัยทวารวดี – สมัยขอม
จังหวัดหนองบัวลำภูเป็นดินแดนที่อยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประว้ติศาสตร์ ดังหลักฐานที่ขุดค้นพบ จากแหล่งโบราณคดีกุดกวางสร้อยกุดค้อเมย ขุดพบโครงกระดูกมนุษย์ กำไลสำริด กำไลหิน แม่พิมพ์ทำจากหินทรายสำหรับใช้หล่อหัวขวานสำริด เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดแก้ว เป็นต้น อายุประมาณ 2,500 ปี ซึ่งสถานที่ขุดค้นพบอยู่ที่บ้านกุดกวางสร้อยและบ้านกุดค้อเมย อำเภอโนนสัง บริเวณเชิงเขาภูพานด้านทิศตะวันตกและเชิงเขาภูเก้าด้านทิศตะวันออก ซึ่งแหล่งโบราณคดีสองแห่งนี้มีอายุใกล้เคียงกับวัฒนธรรมบ้านเชียง
ประมาณ พ.ศ. 1100 – พ.ศ. 1500 ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูได้ค้นพบวัตถุสมัยทวารวดี เช่น ใบเสมา ที่ภูน้อย วัดพระธาตุเมืองพิณ อำเถอนากลาง และวัดป่าโนนคำวิเวก อำเภอสุวรรรคูหา
ประมาณ พ.ศ. 1500 – พ.ศ. 1700 ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภูได้รับวัฒนธรรมขอมหรือเขมร พบโบราณสถานหรือโบราณวัตถุที่เป็นศิปละขอมหรือเขมร เช่น ฐานวิหารศิลาแลง ศิลาจารึกวัดพระธาตุเมืองพิณ และอักษารขอมโบราณที่วัดป่าโนนคำวิเวก อำเภอสุวรรณคูหา
สมัยสุโขทัย
พ.ศ. 1896 – พ.ศ. 1961 ในสมัยสุโขทัย เป็นสมัยอาณาจักรล้านช้างก่อกำเนิดในภาคอีสาน ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้างุ้มฟ้าและพระเจ้าสามแสน พื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอิทธิพลและเป็นเขตอาณาจักรล้านช้าง ครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจนไปถึงแอ่งโคราช และกระจายชุมชนเข้ามาสู่แอ่งสกลนครจนไปถึงบริเวณพระธาตุพนม เลยลงไปถึงแดนเขมรจนปัจจุบันเรียกว่า อีสานใต้ (จากพงศาวดารล้านช้าง) พื้นที่ในจังหวัดหนองบัวลำภูจึงได้รับอิทธิพลล้านช้างซึ่งแพร่หลายในขณะนั้นในบริเวณแอ่งสกลนคร และรับศาสนาพุทธลัทธิลังกาวงศ์ (นิกายเถรวาท) เป็นศาสนาประจำถิ่นตามผู้ปกครองอาณาจักร
สมัยอยุธยา
ประมาณ พ.ศ. 2106 พระไชยเชษฐาธิราชกษัตริย์แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต (กรุงเวียงจันทน์) ได้นำผู้คนอพยพจากหลวงพระบางเและเวียงจันทร์มาอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ในปีพ.ศ. 2106 หลังจากที่สร้างเมืองเวียงจันทร์ในปีพ.ศ. 2103 และก็อยู่ในระหว่างการสร้างพระธาตุศรีสองรัก ซึ่งภาคอีสานก็อยู่ในเขตอาณาจักรล้านช้าง ดังหลักฐานที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกและได้สร้างพระพุทธรูปประดิษฐานไว้ในวัดถ้ำสวรรณคูหา อำเภอสุวรรณคูหา และนำไพร่พลมาบูรณะสร้างบ้านสร้างสาเมืองนครหนองบัวลุ่มภูขึ้นใหม่อีกครั้งที่ริมหนองบัว (หนองซำซ้าง) ซึ่งเป็นเมืองเก่าสมัยขอมเรืองอำนาจ พระไชยเชษฐาธิราชได้สร้างพระพุทธรูป วิหาร และขุดบ่อน้ำในบริเวณวัดศรีคูณเมือง[6] และยกฐานะเป็นเมือง “เวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน” มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านของเมืองเวียงจันทน์ คนทั่วไปนิยมเรียกว่า “หนองบัวลุ่มภู” ซึ้งปัจจุบันเรียกเพี้ยนมาว่าหนองบัวลำภูถือว่าเป็นเมืองเอกล้านช้างตะวันตกของอาณาจักรล้านช้าง
ปี พ.ศ. 2117 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในระหว่างที่ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ให้แก่พม่าสมัยพระเจ้าหงสาวดี[ต้องการอ้างอิง] สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชได้ยกกองทัพช่วยพม่ารบกับกรุงเวียงจันทน์ โดยมีสมเด็จพระนเรศวรตามเสด็จพระราชบิดาช่วยรบ เนื่องจากพระไชยเชษฐาธิราชได้หายสาบสูญไปในระหว่างการรบปราบข่า ที่ลาวใต้ เวียงจันทน์เกิดการแย่งชิงราชสมบัติจึงได้ถือโอกาสเข้าตีกรุงเวียงจันทน์ สมเด็จพระมหาธรรมราชาและสมเด็จพระนเรศวร นำกองทัพเสด็จประทับแรมที่บริเวณหนองบัว เนื่องจากมีทัศนียภาพที่สวยงามและมีแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคในบริเวณนั้น สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงพระประชวรด้วยไข้ทรพิษ พระเจ้าหงสาวดีได้รับข่าวจึงอนุญาตให้สมเด็จพระนเรศวรเดินทางกลับเพื่อรักษาพระองค์
ประมาณปี พ.ศ. 2302 ตรงกับสมัยพระเจ้าเอกทัศน์กษัตริย์องค์สุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าสุวรรณปางคำปาหลัง(เจ้าปางคำ)พร้อมเสนาบดีจากเมืองเชียงรุ่งและพระวอซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระวรราชภักดีและพระตา มีภูมิลำเนาเดิมที่บ้านหินโงม เป็นเสนาบดีของพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ มาตั้งแต่สมัย พระเจ้าอนุวงษ์ไทธิราช เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ฝ่ายนอกของกษัตริย์กรุงเวียงจันทน์ มีเรื่องขัดใจกับพระเจ้าศิริบุญสารผู้เป็นโอรส พระวอและพระตาได้อพยพไพร่พลข้ามลำน้ำโขงมาตั้งภูมิลำเนา มาบูรณะสร้างบ้านแปลงเมืองที่ “เวียงจำปานครกาบแก้วบัวบาน”ให้เป็นเวียงใหม่เป็นเวียงนครใหญ่ชื่อว่า เวียงใหม่นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ซึ่งเป็นเอกเทศราชไม่ขึ้นต่อผู้ใด มีกฏบัญญัติบ้านเมือง มีกษัตริย์ปกครอง มีดินแดนกำแพงคูเมืองล้อมรอบพร้อมประตูเวียง มีแม่น้ำแม่พระเนียงเป็นสายหลัก มีเมืองหน้าด้านของตัวเอง ได้แก่เมืองนาด้วง ภูเวียง ผาขาว พรรณา พร้อมผู้คนและช้างเผือกคู่เวียง
สมัยธนบุรี
ประมาณ พ.ศ. 2310 ตรงกับต้นสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระเจ้าศิริบุญสารแห่งเมืองเวียงจันทน์ยกทัพมาตีพระวอพระตาที่เมือง “นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน” (ชื่อจังหวัดหนองบัวลำภูในสมัยนั้น) ทำการสู้รบกันที่ช่องน้ำจั่น (น้ำตกเฒ่าโต้) บนภูพานคำใช้เวลาอยู่ประมาณ 3 ปี ฝ่ายเวียงจันทน์ขอกำลังจากพม่ามาช่วยรบ จึงสามารถตีเมืองแตกได้ พระตาถูกข้าศึกฆ่าในสนามรบ ส่วนพระวออพยพไพร่พลไปขอพึงบารมีเจ้าเมืองจำปาศักดิ์ ต่อมาได้แยกมาสร้างบ้านแปงเมืองอยู่ที่ดอนมดแดง (ปัจจุบันคือจังหวัดอุบลราชธานี) แล้วขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้ากรุงธนบุรี
ปี พ.ศ. 2321 พระเจ้าศิริบุญสารได้ยกกองทัพมารุกรานพระวอ และปราบพระวอได้ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบรีทราบ โปรดสั่งให้เจ้าพระยาจักรียกกองทัพไปมาช่วยพระวอ แล้วยกกองทัพติดตามเข้าโจมตีเมืองเวียงจันทน์จนได้ชัยชนะ และได้นำพระแก้วมรกตซึ่งพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชนำไปจากเมืองเชียงใหม่กลับมาคืนสู่เมืองไทยดังเดิม พระยาจักรีได้รับบำเหน็จความชอบเป็น “เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก” กรุงเวียงจันทน์ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของไทยในฐานะเมืองประเทศราช และเมือง “นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน” จึงได้ขึ้นกับราชอาณาจักรไทยตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน
สมัยรัตนโกสินทร์
ปี พ.ศ. 2369 ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงษ์แห่งเวียงจันทน์ได้ก่อกบฏ ยกทัพมาบุกยึดเมืองนครราชสีมา ทางกรุงเทพได้ส่งกองทัพมาปราบ ฝ่ายเจ้าอนุวงษ์ได้ถอยร่มไปตั้งรับอยู่ที่เมือง”หนองบัวลุ่มภู”ต่อสูรบกันเป็นสามารถ และติดตามจับเจ้าอนุวงษ์ได้ที่เมืองเวียงจันทน์ แล้วนำตัวไปพิจารณาโทษที่กรุงเทพด้วยการทรมานและประจานอยู่หลายวันจนเสียชีวิตในกรงขังปี พ.ศ. 2433 สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯให้จัดระเบียบปกครองเมืองทางลุ่มแม่น้ำโขงใหม่ โดยให้ข้าหลวงเมืองหนองคายบังคับบัญชา ช่วงนี้เมืองหนองบัวลำภูขึ้นอยู่กับเมืองหนองคาย ต่อมาได้โปรดเกล้าฯให้แต่งข้าหลวงใหญ่ล้วนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ ประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 พระองค์ในปี พ.ศ. 2434 คือ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เรียกว่า “ข้าหลวงเมืองลาวกาว” เป็นข้าหลวงประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี และในปี พ.ศ. 2436 กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่ประทับ ณ เมืองอุดรธานี เรียกว่า “ข้าหลวงเมืองลาวพวน” และกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นข้าหลวงใหญประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี เรียกว่า “ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว” หนองบัวลำภูขึ้นสังกัดกับเมืองลาวพวนและแต่งตั้ง “พระวิชดยดมกมุทเขต” มาครองเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองเอกของมณฑลลาวพวนและเปลี่ยนชือเมืองใหม่ว่า “เมืองกมุทธาไสยบุรีรมย์” และเป็นข้าหลวงคนสุดท้ายของเมืองปี พ.ศ. 2443 รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เปลี่ยนชือมณฑลฝ่ายเหนือเป็นมณฑลอุดรและรวมผังเมืองต่างๆ ในมณลอุดรเป็น 5 บริเวณ ได้แก่ บริเวณบ้านหมากแข้ง บริเวณธาตุพนม บริเวณสกลนคร บริเวณพาชี บริเวณน้ำเหือง เมืองกมุทธาสัยได้ถูกรวมอยู่ในบริเวณบ้านหมากแข้งประกอบด้วย 7 เมืองคือ เมืองหมากแข้ง หนองคาย หนองหาน กุมภวาปี กมุทธาสัย โพนพิสัย และรัตนวาปี[9] ตั้งที่ว่าการอยู่ที่บ้านหมากแข้งปี พ.ศ. 2449 ได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองกมุทธาสัยมาเป็น “เมืองหนองบัวลุ่มภูและเพี้ยนเป็นหนองบัวลำภูในปัจจุบัน”ขึ้นกับบริเวณบ้านหมากแข้ง ปี พ.ศ. 2450 ได้โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงมหาดไทยรวมเมืองต่าง ๆ ในบริเวณบ้านหมากแข้งตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า “เมืองอุดรธานี” ส่วนเมืองในสังกัดบริเวณให้มีฐานะเป็นอำเภอ เมืองหนองบัวลำภู จึงกลายเป็น อำเภอหนองบัวลำภู และมีอำเภอที่เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน โดยจัดตั้งขึ้นตามลำดับ 4 กิ่งอำเภอ คือ1. กิ่งอำเภอโนนสัง เมื่อปี พ.ศ. 24912. กิ่งอำเภอศรีบุญเรือง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 25083. กิ่งอำเภอนากลาง เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 4. กิ่งอำเภอสุวรรณคูหา เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2516ปี พ.ศ. 2536 ประกาศจัดตั้งเป็น จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 โดยประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2536
จังหวัดหนองบัวลำภู มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดอุดรธานี
- ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดขอนแก่น
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดอุดรธานี
- ทิศตะวันตกติดต่อกับ จังหวัดเลย หนองบัวลำภูไปกรุงเทพมหานคร 560 กิโลเมตร
การปกครองแบ่งออกเป็น 6 อำเภอ 59 ตำบล 636 หมู่บ้าน
อำเภอเมืองหนองบัวลำภู
อำเภอนากลาง
อำเภอโนนสัง
อำเภอศรีบุญเรือง
อำเภอสุวรรณคูหา
อำเภอนาวัง