แปลเอกสารศรีสะเกษ

Posted on Posted in แปลเอกสาร, แปลเอกสาร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ศรีสะเกษ เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ลักษณะภูมิประเทศทางตอนใต้เป็นที่สูง และค่อย ๆ ลาดต่ำไปทางเหนือลงสู่ลุ่มแม่น้ำมูลซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด ปัจจุบันมีเนื้อที่ 8,840 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยอำเภอ 22 อำเภอ มีประชากรราว 1.45 ล้านคน ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย ซึ่งพูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กัน อาทิ ภาษาลาว (สำเนียงลาวใต้ซึ้งใช้ครอบคลุมทั้งฝั่งอุบลราชธานีและจำปาศักดิ์), ภาษากูย, ภาษาเยอ และภาษาเขมรถิ่นไทย ส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนและนับถือผีมาแต่เดิม มีการตั้งถิ่นฐานในจังหวัดศรีสะเกษมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนเกิดพัฒนาการที่เข้มข้นในสมัยอาณาจักรขอมซึ่งได้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมหลายประการไว้ เช่น ปราสาทหินและปรางค์กู่ศิลปะขอมตั้งกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง ครั้นในสมัยอาณาจักรอยุธยา มีการยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน(บริเวณใกลๆปราสาทกุด หรือปราสาทสี่เหลียมโคกลำดวน วัดเจ็ก อำเภอขุขันธ์ ในปัจจุบัน) เป็นเมืองขุขันธ์  และในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ได้ย้ายเมืองไปยังบริเวณตำบลเมืองเก่า (ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ ในปัจจุบัน) แต่เรียกชื่อเมืองขุขันธ์ ตามเดิม กระทั่งยกฐานะเป็น จังหวัดขุขันธ์ เมื่อ พ.ศ. 2459 แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ พ.ศ. 2481 […]

แปลเอกสารสุรินทร์

Posted on Posted in แปลเอกสาร, แปลเอกสาร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สุรินทร์ (ภาษากูย: เหมอง-สุลิน, เขมรถิ่นไทย: ซเร็น) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรือ “อีสานใต้” มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงช้าง การทอผ้าไหม ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์และภาษา เช่น กูย กวย หรือ ส่วย ไทยอีสานหรือลาว เขมร หรือขะแมร์ มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 24 ตราประจำจังหวัด : รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณอยู่หน้าปราสาทหินศีขรภูมิ (เดิมเรียกว่าปราสาทหินบ้านระแงง) คำขวัญประจำจังหวัด : สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ปะคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด : ต้นมะค่าแต้ (Sindora siamensis) ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นกันเกรา (Fagraea fragrans) ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกกันเกรา

แปลเอกสารสกลนคร

Posted on Posted in แปลเอกสาร, แปลเอกสาร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สกลนคร หรืออีกชื่อหนึ่งว่า “เมืองหนองหาน” เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบเนื่องจวบจนปัจจุบัน ทั้งนี้จังหวัดสกลนครยังเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญและหลากหลายในด้านต่างๆโดยเฉพาะทางด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และเป็นจังหวัดศูนย์กลางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศูนย์กลางทางการศึกษา อันเป็นสถานที่ตั้งของสถานศึกษาขนาดใหญ่ใน กลุ่มจังหวัดสนุก (สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร) คำขวัญประจำจังหวัด : พระธาตุเชิงชุมคู่บ้าน พระตำหนักภูพานคู่เมือง งามลือเลื่องหนองหาร แลตระการปราสาทผึ้ง สวยสุดซึ้งสาวภูไท ถิ่นมั่นในพุทธธรรม ตราประจำจังหวัด : รูปพระธาตุเชิงชุม เบื้องหลังเป็นหนองหาร ต้นไม้ประจำจังหวัด : อินทนิล (Lagerstroemia speciosa) ดอกไม้ประจำจังหวัด : อินทนิล สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลากาหรือปลาอีก่ำ (Labeo chrysophekadion)

แปลเอกสารเลย

Posted on Posted in แปลเอกสาร, แปลเอกสาร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เลย เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 520 กิโลเมตร มีสภาพภูมิประเทศที่งดงาม อากาศหนาวเย็น เป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญอีกด้วย ต้นไม้ประจำจังหวัด: สนสามใบ (Pinus kesiya) คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองแห่งทะเลภูเขา สุดหนาวในสยาม ดอกไม้งามสามฤดู ถิ่นที่อยู่อริยสงฆ์ มั่นคงความสะอาด ลักษณะรูปร่างของจังหวัดเลย: ลักษณะรูปร่างของจังหวัดเลยมีรูปร่างคล้ายกับ “ศีรษะของลูกไดโนเสาร์พันธุ์ไทรเซอราทอปส์ที่ไม่มีเขา”

แปลเอกสารร้อยเอ็ด

Posted on Posted in แปลเอกสาร, แปลเอกสาร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ร้อยเอ็ด เดิมสะกดว่า ร้อยเอ็จ เป็นจังหวัดบริเวณลุ่มแม่น้ำชีในภาคอีสานตอนบนของไทย ตราประจำจังหวัด : ประกอบด้วยสัญลักษณ์ที่สำคัญคือรูปบึงพลาญชัย ศาลหลักเมือง พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตัวเลข ๑๐๑ และรวงข้าวหอมมะลิ ตราที่ใช้ในปัจจุบันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ ปี พ.ศ. 2545 ออกแบบโดย นายรังสรรค์ ต้นทัพไทย คำขวัญประจำจังหวัด : สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกต บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ชัยมงคล งามน่ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นกระบก (Irvingia malayana) ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกอินทนิลบก (Lagerstroemia macrocarpa) สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาหลดจุด (Macrognathus siamensis) เครื่องดนตรีประจำจังหวัด : โหวด

แปลเอกสารยโสธร

Posted on Posted in แปลเอกสาร, แปลเอกสาร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ยโสธร เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย จัดตั้งโดยคณะปฏิวัติของจอมพลถนอม กิตติขจร ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 อันให้แยกอำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี แล้วรวมกันตั้งเป็นจังหวัดยโสธร และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 สืบไป โดยมีนายชัยทัต สุนทรพิพิธ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรคนแรก คำขวัญประจำจังหวัด : เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ ตราประจำจังหวัด : รูปพระธาตุอานนท์ ปูชนียสถานสำคัญของจังหวัดยโสธร ขนาบด้วยรูปสิงห์ 2 ตัว เบื้องล่างของภาพดังกล่าวรองรับด้วยรูปดอกบัวบานเป็นการแสดงถึงการที่จังหวัดยโสธรแยกออกมาจากจังหวัดอุบลราชธานี พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด : ต้นกระบาก (Anisoptera costata) ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นยางนา (Dipterocarpus alatus) ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกบัวแดง (Nymphaea rubra) สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาชะโอนหรือปลาเซียม (Ompok bimaculatus)

แปลเอกสารมุกดาหาร

Posted on Posted in แปลเอกสาร, แปลเอกสาร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มุกดาหาร เป็นจังหวัดชายแดน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 642 กิโลเมตร แยกออกมาจากจังหวัดนครพนมเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 นับเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไทย สามารถเดินทางข้ามฝั่งโขงไปยังประเทศลาวได้ 2 จุด ตราประจำจังหวัด: รูปปราสาทสองนางสถิตย์ ประดิษฐานแก้วมณีมุกดาหาร ต้นไม้ประจำจังหวัด: ต้นตานเหลืองหรือช้างน้าว (Ochna integerrima) ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกตานเหลืองหรือช้างน้าว (Ochna integerrima) คำขวัญประจำจังหวัด: หอแก้วสูงเสียดฟ้า ผาเทิบแก่งกะเบา แปดเผ่าชนพื้นเมือง ลือเลื่องมะขามหวาน กลองโบราณล้ำเลิศ ถิ่นกำเนิดลำผญา ตระการตาชายโขง เชื่อมโยงอินโดจีน

แปลเอกสารมหาสารคาม

Posted on Posted in แปลเอกสาร, แปลเอกสาร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มหาสารคาม เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คำขวัญประจำจังหวัด : พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร ตราประจำจังหวัด : รูปต้นรังใหญ่ (มาจากคำว่า มหาสาละ ในชื่อจังหวัดมหาสารคาม) กับทุ่งนา ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นพฤกษ์หรือต้นมะรุมป่า (Albizia lebbeck) ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกลั่นทมขาวหรือดอกจำปาขาว (Plumeria alba) สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปูทูลกระหม่อมหรือปูแป้ง (Thaipotamon chulabhorn)

แปลเอกสารบุรีรัมย์

Posted on Posted in แปลเอกสาร, แปลเอกสาร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บุรีรัมย์ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 5 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 17 ของประเทศไทย ในสมัยก่อนบุรีรัมย์เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโคตรบูรและอาณาจักรทวารวดี เคยเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมา ตราประจำจังหวัด : เป็นรูปเทวดารำและปราสาทหิน พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด : ต้นกาฬพฤกษ์ (Cassia grandis) ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นแปะ (Vitex quinata) ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกสุพรรณิการ์ สัตว์น้ำประจำจังหวัด : กุ้งฝอยน้ำจืดชนิด Macrobrachium lanchesteri ธงประจำจังหวัด : ธงพื้นสีม่วง-แสด แบ่งครึ่งตามแนวตั้ง กลางธงมรตาเทพยดาฟ้อนรำหน้าปราสาทหินพนมรุ้ง

แปลเอกสารบึงกาฬ

Posted on Posted in แปลเอกสาร, แปลเอกสาร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บึงกาฬ เป็นจังหวัดในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป โดยแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย คำขวัญประจำจังหวัด : ภูทอกแหล่งพระธรรม ค่าล้ำยางพารา งามตาแก่งอาฮง บึงโขงหลงเพลินใจ น้ำตกใสเจ็ดสี ประเพณีแข่งเรือ เหนือสุดแดนอีสาน นมัสการหลวงพ่อใหญ่ ศูนย์รวมใจศาลสองนาง ตราประจำจังหวัด : รูปภูทอก บึงโขงหลง และต้นไม้ ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นสิรินธรวัลลีหรือต้นสามสิบสองประดง (Bauhinia sirindhorniae) ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกสิรินธรวัลลีหรือดอกสามสิบสองประดง สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาบู่กุดทิง (Neodontobutis aurarmus)